ตลาด Cold chain logistics หรือระบบคลังสินค้าและขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิของไทย มีมูลค่าราว 2.6 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโต 8% CAGR ในอีก 3 ปีข้างหน้า

จากการขยายตัวของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม แบบควบคุมอุณหภูมิถูกพัฒนาและนำมาใช้มากยิ่งขึ้นกับกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ปัจจุบัน Cold chain logistics   แทนระบบโลจิสติกส์ทั่วไป เพื่อรักษาคุณภาพและลดอัตราการเสียของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ อาหารทะเล อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์จากนม

ปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากปริมาณการส่งออกผลไม้ไปยังตลาดจีนที่เติบโตแบบก้าวกระโดด การกลับมาฟื้นตัวของการส่งออกอาหารทะเลจากการปลดล็อกใบเหลือง IUU Fishing รวมถึงการขยายสาขาอย่างรวดเร็วของธุรกิจร้านสะดวกซื้อและแฟรนไชส์ร้านอาหาร

การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบว่า Cold chain logistics ประกอบด้วย 2 เซกเมนต์หลักคือ

·        คลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ

·        การขนส่งสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ

โดยการให้บริการคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ มีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยสูงกว่าการขนส่งสินค้าราว 15%

การใช้บริการ cold chain logistics สำหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มพบมากใน 2 รูปแบบ

1.    ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเองจับมือกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์จัดตั้งบริษัทในรูปแบบพันธมิตรธุรกิจเพื่อให้บริการ cold chain logistics แบบครบวงจรกับกลุ่มธุรกิจในเครือ

2.    ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มใช้บริการจากผู้ให้บริการ cold chain logistics ในรูปแบบ outsource ซึ่งการใช้บริการ cold chain logistics

Cr: thansettakij