ฝั่งอ่าวไทยบริเวณแหลมริ่ว จ.ชุมพร และฝั่งอันดามัน ที่แหลมอ่าวอ่าง จ.ระนอง มีแนวเส้นทางการพัฒนาเชื่อมโยงระยะทางประมาณ 89 กิโลเมตร ประกอบด้วย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) รถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ระบบขนส่งทางท่อ (Pipeline) มีทั้งรูปแบบยกระดับ ทางระดับพื้นและอุโมงค์ จำนวน 3 แห่ง
ผลการศึกษาเบื้องต้น โครงการแลนด์บริดจ์จะพัฒนาออก 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 ประมาณมูลค่าการลงทุน รวมกว่า 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น 4 ระยะย่อย
ระยะที่ 1/1 มูลค่าลงทุนรวม 522,844 ล้านบาท ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
1. ก่อสร้างท่าเรือทั้ง ฝั่งทะเล มูลค่ารวม 260,235 ล้านบาท ประกอบด้วย
· ฝั่งอ่าวไทย จ.ชุมพร รองรับตู้สินค้า 4 ล้านทีอียู มูลค่าลงทุน 118,519 ล้านบาท
· ฝั่งอันดามัน จ.ระนอง รองรับ 6 ล้านทีอียู มูลค่าลงทุน 141,716 ล้านบาท
การลงทุนพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (SRTO) มูลค่ารวม 60,892 ล้านบาท แบ่งเป็นพื้นที่ฝั่ง จ.ชุมพร มูลค่าลงทุน 38,113 ล้านบาท พื้นที่ฝั่ง จ.ระนอง มูลค่าลงทุน 22,779 ล้านบาท
ก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงมอเตอร์เวย์ขนาด 4 เลน และรถไฟทางคู่ มูลค่ารวม 201,716 ล้านบาท
ระยะที่ 1/2 มูลค่าการลงทุนรวม 164,671 ล้านบาท โดยขยายท่าเรือชุมพรเพิ่มรองรับเป็น 8 ล้านทีอียู ท่าเรือระนองเพิ่มเป็น 12 ล้านทีอียู ขยายมอเตอร์เวย์เป็น 6 เลน
ระยะที่ 1/3 มูลค่าลงทุนรวม 228,512 ล้านบาท ขยายท่าเรือชุมพรเพิ่มรองรับเป็น 14 ล้านทีอียู ท่าเรือระนองเพิ่มเป็น 20 ล้านทีอียู
ระยะที่ 1/4 มูลค่าลงทุนรวม 85,177 ล้านบาท ขยายท่าเรือชุมพรเพิ่มรองรับตู้ขนสินค้าเป็น 20 ล้านทีอียู โครงการแลนด์บริดจ์ถูกวางบทบาท ดังนี้
- เป็นประตูการค้ารองรับการนำเข้า-ส่งออกของไทย
- เป็นประตูในการขนส่งและแลกเปลี่ยนสินค้าของไทยในภูมิภาค
- เป็นทางเลือกในการถ่ายลําการขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก
- มีการตั้งเขตพื้นที่เศรษฐกิจเสรี ดึงดูดนักลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ
Cr: Matichon