ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบประกันภัยภาคเกษตร ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT)
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System: GIS) และแบบจำลองการวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยทางธรรมชาติในเชิงพื้นที่ (Disaster Risk Analysis Model) เพื่อพัฒนาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Advanced Warning System)
นอกจากนั้น ยังเพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรและตอบโจทย์ความท้าทายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่และนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่จะมีการนำ “ความเร็วลม” มาใช้ในระบบประกันภัยภาคการเกษตร
พร้อมทั้งพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อรองรับการคำนวณหาค่าความเร็วลมที่จะนำไปใช้เป็นค่าวิกฤต เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนารูปแบบของ ประกันภัยทุเรียน และกำหนดค่าเบี้ยประกัน เพื่อรองรับและตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรอันจะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเสริมการให้ความคุ้มครองและดูแลเกษตรกรไทยร่วมกัน
โดยในโอกาสการลงนาม MOU ครั้งนี้ ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่า
“ตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เน้นนโยบายสำคัญในด้านการพัฒนาระบบประกันภัยภาคเกษตร ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานเนวิเกเตอร์ (Navigator) หรือผู้นำทางด้านเศรษฐกิจการเกษตร ตระหนักถึงความสำคัญของการให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมแก่เกษตรกรชาวสวนทุเรียนจากภัยอันเกิดจากลมพายุหรือวาตภัยที่มากับพายุฤดูร้อน
Cr: salika