การเริ่มก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทาง และรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ซึ่งจะทยอยแล้วเสร็จและเปิดใช้ในปี 2566 นี้เป็นต้นไป การมีระบบทางคู่ รถไฟไม่ต้องเสียเวลารอหลีก ทำให้การเดินทาง การขนส่งสินค้าสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ที่สำคัญ รถไฟจะมีต้นทุนขนส่งต่อหน่วยที่ต่ำ จะเป็นฟันเฟืองหลักในการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ

โดยรัฐบาลชุดใหม่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนารถไฟทางคู่ โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีการลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และหนองคาย ได้นั่งรถไฟจากสถานีอุดรธานีไปยังสถานีหนองคาย และประกาศว่าจะเร่งผลักดันรถไฟทางคู่เฟส 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย เข้าที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเร็ว

“งบประมาณมีการกันไว้เรียบร้อย ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนอีกเรื่องหนึ่ง ใช้เงินไม่มากนักแต่ประโยชน์มหาศาล แต่ก็ต้องทำควบคู่กันไปกับจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า ทำให้ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวรับน้ำหนักได้มากขึ้น การเจรจากับลาวและต้องมีการทำวันสตอปเซอร์วิสด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคเอกชน เพราะเป็นเส้นทางที่เชื่อมประตูการค้าระหว่างไทย-ลาวไปยังประเทศจีน” นายเศรษฐากล่าว

· ชูธงลดต้นทุนโลจิสติกส์ ต้องเร่งลงทุนรถไฟทางคู่

· แผนพัฒนารถไฟทางคู่-ทางสายใหม่  ตามแผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน หรือระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะทาง 993 กม. มีการก่อสร้างแล้วเสร็จ 3 เส้นทาง คือ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย

รถไฟทางคู่ เฟสแรก 7 เส้นทาง รัฐบาล "ประยุทธ์" ต้องใช้เวลาถึง 9 ปีผลักดัน วันนี้เริ่มเห็นความสำเร็จแล้ว ส่วนเฟส 2 อีก 7 เส้นทาง รัฐบาล "เศรษฐา" ประกาศเดินหน้าแน่นอน ส่วนจะเริ่มสร้างเมื่อใด อีกกี่ปีเสร็จ ไม่มีใครตอบได้ แต่เมื่อรถไฟทางคู่เสร็จตามแผน จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทั้งด้านเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว และยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย!!!

Cr: mgronline