admin L2D

CHINA-CHENGDU-CHONGQING-FREIGHT TRAIN-LAOS-LAUNCH (CN)

ช่วงสองเดือนแรกปี 67 ท่าบกนานาชาติหวยฮั่วขนส่งสินค้าผ่านรถไฟจีน-ลาวเพิ่มขึ้นกว่า 300%

ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2567 ท่าบกนานาชาติเมืองหวยฮั่วของมณฑลหูหนานได้ขนส่งสินค้าด้วยรถไฟรวม 90 ขบวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41 ในจำนวนนี้ เป็นการขนส่งสินค้าด้วยขบวนรถไฟจีน-ลาว 46 ขบวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 360 รวมจำนวน 72 ตู้ TEU รวมปริมาณสินค้า 1,823 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3.73 ล้านหยวน

 

หลังจากท่าบกนานาชาติเมืองหวยฮั่วได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน 2564 ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเต็มกำลังเพื่อให้มณฑลหูหนานบรรลุเป้าหมายการขนส่งสินค้าด้วยรถไฟ 2 ประการ ได้แก่ (1) ตลอดปี 2567 มณฑลหูหนานจะสามารถขนส่งสินค้าด้วยรถไฟมากกว่า 800 ขบวน

(2) ภายในปี 2569 สามารถขนส่งสินค้าด้วยรถไฟมากกว่า 1,000 ขบวน

โดยมีปริมาณสินค้าเข้า-ออกรวมกว่า 10 ล้านตัน รวมมูลค่าสินค้ามากกว่า 100,000 ล้านหยวน รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับอีกสองมณฑลที่อยู่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ มณฑลหูเป่ย และมณฑลเจียงซี เพื่อร่วมกันพัฒนาโลจิสติกส์ตามแนวเส้นทางเขตเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีซึ่งเป็นไปตามนโยบายของจีน

ที่มา: https://finance.eastmoney.com

Cr: thaibizchina

pic2 (65)

ม.ศรีปทุม จับมือ ม.ราชภัฏนครราชสีมา MOU ร่วมพัฒนาคณาจารย์-นักศึกษา ปั้นบัณฑิตโลจิสติกส์ ยุคดิจิทัล ตอบโจทย์ตลาดงานและผู้ประกอบการ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม กับ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมลงนาม MOU กับ รองศาสตราจารย์ ดร.เอกรัตน์ เอกศาสตร์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อร่วมกัน ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ของทั้งสองฝ่าย ให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการวิจัย ตลอดจนส่งเสริมการดำเนินการวิจัยที่มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันจะเป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในงานวิจัย รวมทั้งผลดำเนินงานของหน่วยงานทั้งสองฝ่าย ณ ที่ทำการวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

Cr: ryt9

pic1 (60)

ยกระดับความสะดวก ขนส่งข้ามพรมแดน | ASEAN Insight

การขนส่งข้ามพรมแดนในอาเซียน ยังมีความท้าทายทั้งในด้านการปฏิบัติและกฎระเบียบด้านการขนส่งที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ จึงต้องเร่งประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการผลักดันการใช้ประโยชน์ความตกลง GMS CBTA อย่างเต็มที่และเป็นรูปธรรม

 

อาเซียนตระหนักถึงความสำคัญของการอำนวยความสะดวกการขนส่งที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการพัฒนาในภูมิภาค โดยอาเซียนมีการประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งอาเซียน (ATM) เพื่อกำหนดทิศทางภาคการขนส่งและประเด็นอื่น ๆ และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่ง (STOM)

โดยมีคณะทำงานหลายคณะเพื่อขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมการดำเนินงานประเด็นต่าง ๆ ตามแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์การขนส่งอาเซียน 2559-2568 ทั้งคณะทำงานการขนส่งทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ และคณะทำงานการอำนวยความสะดวกทางการขนส่งด้วย

 

อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ประกอบด้วย กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม และจีน (ตอนใต้) ภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการขนส่งอย่างต่อเนื่อง แต่กฎระเบียบ ความตกลงระหว่างประเทศ และกลไกที่เกี่ยวข้องเพื่อนำสินค้าและบริการผ่านข้ามแดนใน GMS ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างตรงจุด

การขนส่งข้ามพรมแดนในอาเซียนและ GMS ยังมีอุปสรรคและข้อท้าทายทั้งในด้านการปฏิบัติและกฎระเบียบด้านการขนส่งที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ในการยกระดับการขนส่งข้ามพรมแดนจึงต้องเร่งประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการผลักดันการใช้ประโยชน์ความตกลง GMS CBTA อย่างเต็มที่และเป็นรูปธรรม

Cr: bangkokbiznews

pic3 (62)

ก.พ. 67 ยอดส่งออกข้าวดิ่ง 15% ครั้งแรกในรอบ 3 เดือน วูบหายเกือบ 1.5 แสนตัน

ผู้ส่งออกข้าว เผยส่งออกข้าวไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ปริมาณ 800,225 ตัน ลดลง 15.6% มูลค่า 18,531 ล้านบาท

ลดลง 11.2% ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน นับจาก ธันวาคม 2566 ที่เคยส่งออกได้ 817,499 ตัน ชี้จากสาเหตุส่งมอบข้าวให้ผู้ซื้อลดลงทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รวมทั้งอิรัก ส่วนเดือนมีนาคม ส่งออกข้าวไทยยังคงอยู่ที่ 8 แสนตัน

 

เนื่องจากการส่งมอบข้าวขาว ให้กับผู้ซื้อที่สำคัญทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รวมทั้งอิรัก มีปริมาณลดลงพอสมควรจากเดือนก่อนที่ผู้ซื้อต่างเร่งนำเข้า เพื่อชดเชยอุปทานข้าวในประเทศที่ลดลง โดยการส่งออกกลุ่มข้าวขาวมีปริมาณ 503,733 ตัน ลดลง 25.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

ขณะที่ตลาดนำเข้าข้าวหอมมะลิที่สำคัญทั้งในอเมริกา และเอเชีย ยังคงนำเข้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อชดเชยอุปทานข้าวในประเทศที่ลดลง ประกอบกับผลผลิตข้าวนาปรังของไทยเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาท ที่เคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลง ช่วยทำให้ราคาข้าวของไทยอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้และจูงใจให้ผู้ซื้อหันมาหาข้าวไทยมากขึ้น

 

จากข้อมูลของกรมศุลกากรการส่งออกข้าวช่วง 2 เดือนแรกของปี (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2567) มีปริมาณ 1,747,966 ตัน มูลค่า 39,401 ล้านบาท (1,126.4 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 24.4% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 55.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2566 ที่ส่งออกปริมาณ 1,405,337 ตัน มูลค่า 25,408 ล้านบาท (754.0 ล้านเหรียญสหรัฐ)

Cr: prachachat

Facebook Pagelike Widget

The most efficient online logistics media in Thailand.

Contact Info

Follow Us