admin L2D

news-20250106-01

กทท. พร้อมพัฒนาท่าเรือ เชื่อมโยงระบบขนส่งลดต้นทุนโลจิสติกส์

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) พร้อมด้วยคณะกรรมการการท่าเรือฯ นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ผู้บริหารการท่าเรือฯ เข้าร่วมประชุม ณ​ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว (Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism: MLIT) ประเทศญี่ปุ่น​  โดยมีนายโยชิมิจิ เทราดะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านงานวิเทศสัมพันธ์แห่ง​​ MLIT ให้การต้อนรับ

อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาท่าเรือให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นๆ เพื่อสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ควบคู่กับการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามกรอบการพัฒนาของกระทรวงคมนาคมที่มุ่งเน้นการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานกรรมการการท่าเรือฯ เปิดเผยว่า “MLIT มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนการพัฒนาท่าเรือของประเทศญี่ปุ่น  โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการขนส่งทางทะเล สร้างความเชื่อมโยงทางการค้ากับนานาชาติ เพื่อก้าวเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์สำคัญของภูมิภาคเอเซีย ที่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าที่มีปริมาณมากและหลากหลายชนิด พร้อมเชื่อมโยงท่าเรือกับระบบขนส่งอื่นๆ เช่น รถไฟ รถบรรทุก และการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งยังส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยภายในท่าเรือโดยการเชื่อมโยงข้อมูลแบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประเทศในอาเซียนซึ่งถือเป็นคู่ค้าที่สำคัญของประเทศ

ภายหลังการหารือร่วมกับ MLIT นั้นพบว่ามีนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการขับเคลื่อนนโยบายคมนาคมเพื่อโอกาสของประเทศไทย มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเพื่อสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ ลดต้นทุนด้านการขนส่ง สร้างโอกาส เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เชื่อมต่อกับพื้นที่ริมน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง ตลอดจนการพัฒนาท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของท่าเทียบเรือตู้สินค้า ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก และใช้พลังงานหมุนเวียนต่างๆ ตลอดจนการติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้าจากฝั่ง (Shore Power Supply) เพื่อลดมลพิษทางอากาศและเสียงรบกวนจากเรือ

ที่จอดเทียบท่า ดังนั้น การเข้าพบปะหารือกับ MLIT ซึ่งการท่าเรือจะนำนโยบายต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการของท่าเรือกรุงเทพต่อไป”

ด้านนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กล่าวว่า สำหรับการเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์กับ MLIT ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการต่างๆ ที่สำคัญของการท่าเรือฯ อาทิ การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 การพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยว การพัฒนาท่าเรือสีเขียว และการพัฒนา

การใช้ประโยชน์พื้นที่ท่าเรือกรุงเทพให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นโครงการสำคัญ (Flagship Project) ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่จะส่งเสริมศักยภาพของท่าเรือไทยในการเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของพื้นที่ เพิ่มอัตราการจ้างงาน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของชุมชน นอกจากนี้ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ ระบบ Automation และ AI มาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ยกระดับคุณภาพบริการสู่มาตรฐานสากล และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งจะส่งผลต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยมี ความมุ่งมั่นจะเป็นท่าเรือที่เป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต ทั้งนี้ การท่าเรือฯ จะต้องเร่งพัฒนาท่าเรือให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”

สำหรับประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันมีท่าเรือทั้งสิ้นจำนวน 132 ท่า โดยในปี 2567 มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าเรืออยู่ที่ 21.77 ล้าน TEUs หรือคิดเป็นประมาณสองเท่าของประเทศไทย (11 ล้าน TEUs) โดยมีท่าเรือหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจำนวน 5 ท่า ได้แก่ ท่าเรือโตเกียว ท่าเรือโยโกฮามา ท่าเรือคาวาซากิ ท่าเรือโกเบ และท่าเรือโอซากะ

ที่มา - banmuang

news-20250121-03

'ดีมานด์ดิจิทัล - ผลผลิตเกษตรดี' ส่งออก 20 สินค้า ฝ่าปัจจัยเสี่ยงโตเด่นปี 68

พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในปี 2568 การส่งออกยังคงเป็นเครื่องจักรสำคัญหลักในการผลักดันเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์การค้าโลก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และการแบ่งขั้วทางการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ปริมาณการค้าที่ขยายตัวลดลงจากการใช้นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐ และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มผันผวน

สนค. ได้วิเคราะห์แนวโน้มการส่งออกรายสินค้าด้วยอนุกรมเวลา (Time Series Model) พิจารณาควบคู่กับอัตราการเปลี่ยนแปลงหน่วยย่อยต่อภาพรวม (Contribution to growth) และสถานการณ์ที่จะกระทบต่อการค้าในอนาคต โดยสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี 10 อันดับในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและ 10 อันดับในกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ของปี 2568 มีดังนี้

สำหรับ 10 สินค้าส่งออกอุตสาหกรรมดาวรุ่งในปี 2568 ได้แก่

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน

2. อัญมณีและเครื่องประดับ

3. ผลิตภัณฑ์ยาง

4. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

5. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ

6. เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ

7. เครื่องส่งวิทยุ โทรเลข โทรศัพท์ โทรทัศน์

8. แผงสวิทซ์ และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า

9. เคมีภัณฑ์

10. แผงวงจรไฟฟ้า

“ฟื้นตัวตามวัฎจักร ความเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยี AI อุปกรณ์อัจฉริยะที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น และความต้องการของภาคการผลิตที่เร่งตัวก่อนการดำเนินมาตรการทางการค้า” นอกจากนี้ยังมีสินค้าอุตสาหกรรมของไทยที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต่อการปรับโครงสร้างการผลิตของไทย เช่น Data Center การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง เช่น แผ่นเวเฟอร์ (Wafer) หรือแผงวงจรไฟฟ้า (PCB) ยานยนต์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ดี ในปี 2568 ไทยมีกลุ่มสินค้าที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากคาดว่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 ได้แก่ กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ทั้งไทยและจีน

ที่มา - bangkokbiznews

news-20250121-02

รถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ พลิกโฉม 'โลจิสติกส์เวียดนาม'

รถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ ของ เวียดนาม กำลังจะเปลี่ยนแปลงการขนส่งของประเทศ กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ และยกระดับการเชื่อมโยงของแต่ละประเทศในภูมิภาค โดยเส้นทางรถไฟสายนี้มีระยะทางเกือบ 1,600 กิโลเมตร เชื่อมต่อกรุงฮานอย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเวียดนาม กับนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศ และด้วยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายนี้ อยู่ที่ประมาณ 58,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้รถไฟสายนี้กลายเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ และจะช่วยลดเวลาการเดินทางระหว่างทั้ง 2 เมืองจาก 33 ชั่วโมง เหลือเพียงต่ำกว่า 8 ชั่วโมง

การก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2578 โดยจะเปิดให้บริการในส่วนที่สำคัญก่อนคือ ฮานอย-วินห์ และ โฮจิมินห์-ญาจาง ซึ่งจะเริ่มเร็วที่สุดในปี 2575 ขณะที่ เงินลงทุนมาจากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยรัฐบาลกำลังพยายามหานักลงทุนต่างชาติและสถาบันทางการเงิน เพื่อเป็นพันธมิตรด้านการจัดการค่าใช้จ่ายและนำความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเข้ามาช่วย

รถไฟความเร็วสูงสายนี้ จะใช้เทคโนโลยีรางคู่ที่ทันสมัยที่ทำให้มีอัตราความเร็วสูงสุด 320 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะใช้ในรถไฟ 3 ประเภท ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงขนส่งผู้โดยสารในช่วงเวลากลางวัน, รถไฟตู้นอนเพื่อให้บริการผู้โดยสารที่เดินทางในระยะไกลและรถไฟขนส่งสินค้า โดยมุ่งหวังที่จะลดความกดดันของการขนส่งทางถนน ทั้งนี้ การเดินทางจากกรุงฮานอยไปยังนครโฮจิมินห์ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 8 ชั่วโมง จะทำให้การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงน่าสนใจ และเป็นทางเลือกแทนการเดินทางด้วยเครื่องบิน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงปัจจัยที่ต้องใช้เวลาเปลี่ยนเครื่องบินและกระบวนการการคัดกรองด้านความปลอดภัยต่างๆ อีกทั้งความสามารถทางการขนส่งสินค้าของรถไฟความเร็วสูงยังทำให้มั่นใจว่าจะไม่ได้ให้บริการเพียงการขนส่งผู้โดยสาร แต่ยังช่วยส่งเสริมภาคการค้าของ เวียดนาม ให้เติบโตอีกด้วย

ประโยชน์ของรถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ ต่อเวียดนาม
รถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ มีความหมายทางเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้งต่อเวียดนาม โดยค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่ค่อนข้างสูงในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20% ของ GDP ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อความสามารถทางการแข่งขันในการค้าโลกของเวียดนาม

อย่างไรก็ดี รถไฟสายดังกล่าวจะมาช่วยลดค่าใช้จ่ายนี้ ส่งเสริมการขนส่งที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งการลดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งจะสร้างประโยชน์ให้อุตสาหกรรมด้านการส่งออกต่างๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเกษตรกรรม พร้อมทั้งยกระดับชื่อเสียงของเวียดนามให้กลายเป็น ‘ศูนย์กลางการผลิตและส่งออก’ ด้วย

นอกจากนี้ รถไฟความเร็วสูงสายนี้ยังมีบทบาทที่สำคัญในโครงข่ายรถไฟสายทรานส์เอเชีย (TAR) ซึ่งเป็นเครือข่ายรถไฟขนส่งสินค้าแบบครบวงจรทั่วยุโรปและเอเชีย มีการเชื่อมต่อทั่วประเทศในเอเชียแบบไร้รอยต่อ เช่น จีน ไทยและเมียนมาสู่เวียดนามและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้จึงจะทำให้เวียดนามกลายเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

อีกทั้งจากการที่เข้ามาช่วยลดปัญหาคอขวดด้านการค้าและการพัฒนาการเชื่อมโยงข้ามพรมแดนจะทำให้โครงการนี้ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นอย่างมากและสร้างงานจำนวนมากในด้านการก่อสร้าง การดำเนินงานและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ

ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการคาดการณ์ว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ จะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเมืองรองที่ตั้งอยู่ตามเส้นทางรถไฟสายนี้ เช่น ดานัง, เว้ และ ญาจาง ด้วยการพัฒนาการเข้าถึงและทำให้เมืองเหล่านี้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น

สรุปจากประโยชน์ด้านต่างๆ รถไฟความเร็วสูงเหนือ-ใต้ของเวียดนาม ถือว่าเป็นอนาคตของเวียดนาม โดยถูกมองว่าเป็นรากฐานของการทำให้เศรษฐกิจทันสมัย อีกทั้งการที่รถไฟความเร็วสูงสายนี้จะเข้ามาช่วยลดเวลาการเดินทาง ลดค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์และยกระดับการเชื่อมโยงระดับภูมิภาคจะช่วยส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันของเวียดนามบนเวทีโลกให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงผลักดันการเติบโตในระยะยาวและมีความยั่งยืน

ที่มา - moneyandbanking

news-20250121-01

ปี 2024 'โลจิสติกส์' ด้านการแช่งแข็งของจีนมียอดสูงถึง 365 ล้านตัน

สมาพันโลจิสติกส์และการจัดซื้อจีนประกาศตัวเลขโลจิสติกส์ด้านการแช่แข็งปี 2024 แสดงให้เห็นว่าภายใต้ความต้องการด้านการบริโภคทำให้ตลาดโลจิสติกส์ด้านการแช่แข็งของจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตลาดมีแนวโน้มฟื้นฟูอย่างเห็นได้ชัด

สถิติแสดงให้เห็นว่าปี 2024 ยอดความต้องการของโลจิสติกส์ด้านการแช่แข็งสูงถึง 365 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 4.3% เมื่อเทียบกับปี 2023 ส่วนรายได้ด้านโลจิสติกส์ ปี 2024 มีรายได้จากการแช่แข็ง 536,100 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น  3.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน

นอกจากนั้นตัวเลขสถิติการดำเนินงานโลจิสติกส์ด้านการแช่แข็งปี 2024 การประหยัดพลังงานเพื่อเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างจัดเจน ยอดการจำหน่ายรถตู้แช่แข็งพลังงานใหม่เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล ปี 2024 ยอดการจำหน่ายรถตู้แช่แข็งพลังงานใหม่มีถึง 21,368 คัน เพิ่มขึ้น  350.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน และรถตู้แช่แข็งพลังงานใหม่ครองสัดส่วน 33.9% ของทั้งหมด ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น 25.2%  เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา - thai.cri.cn

Facebook Pagelike Widget

The most efficient online logistics media in Thailand.

Contact Info

Follow Us