ธุรกิจโลจิสติกส์ของเวียดนาม กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากการขยายตัวของ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA), การเติบโตของ อีคอมเมิร์ซ, การผลิต และกิจกรรมการนำเข้า-ส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่อง

ตามข้อมูลจาก สมาคมธุรกิจโลจิสติกส์เวียดนาม (VLA) ระบุว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเวียดนามเติบโตเฉลี่ย 14–16% ต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดราว 40,000–42,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพสูงสุดในภูมิภาค

📊 เวียดนามติด TOP10 ตลาดโลจิสติกส์เกิดใหม่ของโลก
อันดับ 4 ในอาเซียน (รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย)
อันดับ 50 จาก 160 ประเทศทั่วโลก ในดัชนีประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (LPI)
ติด Top 10 ของตลาดโลจิสติกส์เกิดใหม่ ตามดัชนีโอกาสด้านโลจิสติกส์ (Logistics Opportunity Index)

🏢 ผู้ประกอบการเพียบ - ต่างชาติเข้าร่วมกว่า 40 แบรนด์
ในปี 2567 เวียดนามมีผู้ประกอบการโลจิสติกส์มากกว่า 7,900 ราย ด้วยทุนจดทะเบียนรวมกว่า 36,550 ล้านด่ง

  • 74.16% เป็นขนส่งทางบกและทางรถไฟ
  • 33.26% คือคลังสินค้าและกิจกรรมสนับสนุน
  • ที่เหลือเป็นขนส่งทางน้ำ (6.4%), ทางไปรษณีย์ (2.34%), ทางรถไฟ (0.3%) และทางอากาศ (0.02%)

นอกจากนี้ ยังมี บริษัทโลจิสติกส์ข้ามชาติระดับโลกกว่า 40 แห่ง ที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม เช่น
DHL, FedEx, Maersk, APL, CJ Logistics, DB Schenker, Toll Group, Kuehne+Nagel เป็นต้น

🏙️ ศูนย์กลางโลจิสติกส์ของเวียดนาม
เวียดนามมี Logistics Hubs สำคัญอยู่ใน 4 เมืองหลัก ได้แก่

  • ฮานอย
  • ไฮฟอง
  • ดานัง
  • โฮจิมินห์

โดยมีการให้บริการโลจิสติกส์แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก:

  • บริการพื้นฐาน – การขนส่งสินค้าในประเทศและระหว่างประเทศ คลังสินค้าขาเข้า-ขาออก
  • บริการเฉพาะทาง – การจัดการคลังสินค้า สต็อกสินค้า ใบสั่งซื้อ การประมวลข้อมูล และศุลกากร

🚧 ยังมีจุดอ่อนที่ต้องเร่งแก้
แม้เวียดนามจะมีพัฒนาการด้านโลจิสติกส์ต่อเนื่อง แต่ยังคงเผชิญ ความท้าทายหลายด้าน เช่น:

  • ต้นทุนโลจิสติกส์สูง คิดเป็น 20% ของ GDP
  • โครงสร้างพื้นฐานยังไม่สมบูรณ์
  • ขาดศูนย์โลจิสติกส์ระดับชาติและนานาชาติในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก

ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนของเวียดนามจึงต้องเร่ง ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน, ลดต้นทุน และ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อดึงดูดการลงทุนและต่อยอดศักยภาพในอนาคต

ที่มา - ditp