ท่าอากาศยานนานาชาติชางเป่ย นครหนานชาง ร่วมมือกับสายการบินThai VietJet Air เปิดบริการขนส่งสินค้าหนานชาง – กรุงเทพฯ ใหม่ โดยเที่ยวบิน VZ3703 ของสายการบิน Thai VietJet Air ขนส่งสินค้าจอโปรเจคเตอร์ 120 จอ น้ำหนัก 2,173 กก. จากหนานชางไปยังกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สายการบิน Thai VietJet Air เปิดบริการขนส่งสินค้าในมณฑลเจียงซี

 

ท่าอากาศยานชางเป่ย ระบุว่า หลังจากความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างไทย-จีนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 แล้ว การเดินทางและการท่องเที่ยวมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวในมณฑลเจียงซีเดินทางไปประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและหลายเท่า และบริษัทสายการบินหลายแห่งวางแผนที่จะเพิ่มจำนวนเที่ยวบินจากนครหนานชางไปไทยมากยิ่งขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2567

ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ของไทย อาทิ บริษัท Spring Airlines และบริษัท Thai Lion Air เป็นต้น ในขณะเดียวกันท่าอากาศยานชางเป่ยมีแผนจะออกมาตรการหลายประการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพิธีการศุลกากรและอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ดียิ่งขึ้นแก่นักท่องเที่ยวทั้งสองประเทศ

 

ทั้งนี้ ท่าอากาศยานชางเป่ยเป็นประตูสำคัญสำหรับมณฑลเจียงซีในการเปิดสู่โลกภายนอก โดยในปี 2566 มีการขนส่งผู้โดยสาร 10.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 116 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมีสายการบินขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าทั้งในและต่างประเทศจำนวน 40 สายการบินที่ปฏิบัติการในเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า 123 เส้นทาง

และมีเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าให้บริการ 71 จุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน ท่าอากาศยานชางเป่ยได้ลงทุน 2.5 หมื่นล้านหยวนในการดำเนินการขยายท่าอากาศยานฯ ระยะ 3 ซึ่งคาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จ ภายในสิ้นปี 2570 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการรองรับปริมาณสินค้าให้สูงกว่า 1 ล้านตัน และจำนวนนักท่องเที่ยวให้สูงกว่า 42 ล้านคน

Cr: thaibizchina

เตรียมต่อยอดสร้างระบบโลจิสติกส์ทางรางให้เกษตรกรและเอกชนในประเทศหันมาใช้ขนส่งทางรางทดแทนการขนส่งทางถนนและอากาศที่ปล่อยมลพิษมากกว่า โดยผลักดันให้ระบบรางเป็นโลจิสติกส์เชิงพาณิชย์สีเขียว เพิ่มโอกาสด้านคาร์บอนเครดิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอบโจทย์นโยบายชาติและทิศทางด้านสิ่งแวดล้อมของโลก

ขณะที่ด้านคุณภาพผลิตผลการเกษตรหลังการทดลองขนส่งด้วยรถไฟจากภาคเหนือลงมาภาคใต้ ผศ.ดร.ลดาวัลย์ เลิศเลอวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อธิบายว่า ภาพรวมของการขนส่งผักและผลไม้ หลังจากใช้เวลาในการขนส่ง 3 วัน ยังคงความสดใหม่

สามารถนำมาวางจำหน่ายได้ทั้งในแบบอุณหภูมิห้องและในตู้เย็น โดยผลิตผลที่เหมาะสมในการขนส่งทางรถไฟและให้ความคุ้มค่าด้านต้นทุน คือ กะหล่ำปลีแดง และ ข้าวโพดหวานสองสี

 

สำหรับการผลักดันด้านคาร์บอนเครดิต ผศ.ดร. ชาญณรงค์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังเป็นแบบภาคสมัครใจ แต่ในอนาคตมีแนวโน้มที่อาจจะมีการผลักดันจริงจังมากขึ้น และอาจมีการบังคับเรื่องภาษีคาร์บอน ก็จะทำให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีราคาที่สูงขึ้น องค์กรต่าง ๆ ตื่นตัวมากขึ้น โดยองค์กรที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ก็สามารถนำส่วนต่างไปประเมินราคา แล้วขายเพื่อลดต้นทุนสินค้า ขณะที่องค์กรที่ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูง ๆ อยู่ ก็จะต้องจ่ายต้นทุนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065

ที่มา: ศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ (Login)

Cr: thaipr