นักวิชาการเผยการศึกษาการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ห้องเย็นรักษาคุณภาพผักผลไม้ของมูลนิธิโครงการหลวง ขนส่งด้วยรถไฟจากภาคเหนือลงภาคใต้ เพื่อทดสอบขนส่งผลิตผลการเกษตรระยะไกล พบผลลัพธ์ดีเยี่ยม รักษาผลิตผลให้คุณภาพสมบูรณ์ สดใหม่ จำหน่ายและส่งออกประเทศเพื่อนบ้านได้โดยไม่มีตีกลับ

เตรียมต่อยอดสร้างระบบโลจิสติกส์ทางรางให้เกษตรกรและเอกชนในประเทศหันมาใช้ขนส่งทางรางทดแทนการขนส่งทางถนนและอากาศที่ปล่อยมลพิษมากกว่า โดยผลักดันให้ระบบรางเป็นโลจิสติกส์เชิงพาณิชย์สีเขียว เพิ่มโอกาสด้านคาร์บอนเครดิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอบโจทย์นโยบายชาติและทิศทางด้านสิ่งแวดล้อมของโลก

ขณะที่ด้านคุณภาพผลิตผลการเกษตรหลังการทดลองขนส่งด้วยรถไฟจากภาคเหนือลงมาภาคใต้ ผศ.ดร.ลดาวัลย์ เลิศเลอวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อธิบายว่า ภาพรวมของการขนส่งผักและผลไม้ หลังจากใช้เวลาในการขนส่ง 3 วัน ยังคงความสดใหม่

สามารถนำมาวางจำหน่ายได้ทั้งในแบบอุณหภูมิห้องและในตู้เย็น โดยผลิตผลที่เหมาะสมในการขนส่งทางรถไฟและให้ความคุ้มค่าด้านต้นทุน คือ กะหล่ำปลีแดง และ ข้าวโพดหวานสองสี

 

สำหรับการผลักดันด้านคาร์บอนเครดิต ผศ.ดร. ชาญณรงค์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังเป็นแบบภาคสมัครใจ แต่ในอนาคตมีแนวโน้มที่อาจจะมีการผลักดันจริงจังมากขึ้น และอาจมีการบังคับเรื่องภาษีคาร์บอน ก็จะทำให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตมีราคาที่สูงขึ้น องค์กรต่าง ๆ ตื่นตัวมากขึ้น โดยองค์กรที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ก็สามารถนำส่วนต่างไปประเมินราคา แล้วขายเพื่อลดต้นทุนสินค้า ขณะที่องค์กรที่ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูง ๆ อยู่ ก็จะต้องจ่ายต้นทุนในส่วนนี้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยมีเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065

ที่มา: ศูนย์วิจัยนวัตกรรมโลจิสติกส์ (Login)

Cr: thaipr