พาณิชย์ เผยตลาดค้าปลีกสแน็คของไทย ในปี 2566 มีมูลค่า 105,200.7 ล้านบาท ชี้ การบริโภคสินค้าสแน็คเพื่อสุขภาพเติบโตต่อเนื่อง จีนครองตลาดส่งออกสแน็คอันดับ 1 คาดเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทย แนะยึดเทรนด์สิ่งแวดล้อม

 

สินค้าสแน็คเพื่อสุขภาพในตลาดไทย ที่มีมูลค่าสูง 5 อันดับแรก ได้แก่

·        สแน็คที่ไม่มีน้ำตาล (No Sugar Snacks) 4,378.1 ล้านบาท

·        สแน็คที่ไม่มีกลูเตน (Gluten Free Snacks) 2,991.7 ล้านบาท

·        สแน็คที่เพิ่มวิตามิน (Good Source of Vitamins Snacks) 2,872.2 ล้านบาท

·        สแน็คที่มีโปรตีนสูง (High Protein Snacks) 2,654.3 ล้านบาท

·        สแน็คที่มีไฟเบอร์สูง (High Fiber Snacks) 1,858.4 ล้านบาท ในปี 2566

สำหรับสินค้าที่มีการเติบโตโดดเด่น คือ สแน็คจากพืช (Plant-Based Snacks) ร้อยละ 56.6 สแน็คที่มีโปรตีนสูง (High Protein Snacks) 22.5% และสแน็คที่ไม่เติมน้ำตาลเพิ่ม (No Added Sugar Snacks)  20.9 %

 

จากข้อมูลของ Global Trade Atlas (GTA) สถิติการส่งออกสแน็คของไทย (คัดเลือกและจัดกลุ่มสินค้าโดย สนค. เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพสินค้า) พบว่า ในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1,954.7 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว  5.8 %  จากปีก่อนหน้า

1. กลุ่มของทานเล่นรสหวาน มีมูลค่าการส่งออก 1,082.3 ล้านดอลลาร์

2. กลุ่มของทานเล่นรสเค็มหรือเผ็ด มีมูลค่าการส่งออก 505.5 ล้านดอลลาร์

3.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมหวานชนิดต่าง ๆ ทำด้วยน้ำตาล มีมูลค่าการส่งออก 220.4 ล้านดอลลาร์

4. ไอศกรีม มีมูลค่าการส่งออก 146.6 ล้านดอลลาร์ สินค้าสแน็คของไทยที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดี เช่น ช็อกโกแลตและอาหารปรุงแต่งอื่น ๆ

Cr: bangkokbiznews