ขณะที่นโยบายระยะยาวมีแผนต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) รวมถึงโครงการแลนด์บริดจ์ ที่จะสร้างความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์การขนส่งสินค้าและน้ำมันในภูมิภาค โดยกระทรวงคมนาคมสรุปข้อมูลการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาคิดเป็นสัดส่วน 16% ของการขนส่งสินค้าโลก และปริมาณการขนส่งน้ำมันคิดเป็นสัดส่วน15-18% ของการขนส่งน้ำมันทั้งโลก ซึ่งปริมาณดังกล่าวจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าและน้ำมันในอนาคต

แลนด์บริดจ์เชื่อม 2 มหาสมุทร

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2566 เห็นชอบให้มีการรับฟังความเห็นโครงการแลนด์บริดจ์ โดยกระทรวงคมนาคมได้กำหนดรูปแบบการพัฒนา 3 ส่วน ดังนี้

1.ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยในฝั่งอ่าวไทยตั้งอยู่ที่แหลมอ่าวอ่าง อ.ราชกรูด จ.ระนองรองรับสินค้า 20 ล้านTEU มีร่องน้ำลึก 21 เมตร ส่วนฝั่งอันดามันตั้งอยู่ที่ แหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร รองรับสินค้า 20 ล้าน TEU มีร่องน้ำลึก 17 เมตร

2.การเชื่อมการขนส่งระหว่างท่าเรือ ประกอบด้วย มอเตอร์เวย์ 6 ช่องจราจร ระยะทาง 21 กิโลเมตร , รถไฟคู่ ขนาดราง1.435 เมตร และรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตร

3.ท่อขนส่งน้ำมันสำเร็จรูปและก๊าซธรรมชา

“คมนาคม” หวังไทยศูนย์กลางขนส่ง

โครงการแลนบริดจ์ที่จะเชื่อมทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทยเป็นระยะทาง 90 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างอ่าวอ่าง อ.ราชกรูด จ.ระนอง กับแหลมริ้ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมมีแผนเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โดยเฉพาะจุดที่เป็นคอขวด เช่น การก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษที่ต่อยอดเส้นทางบ้านแพ้วไปปากท่อ รวมทั้งการขยายมอเตอร์เวย์ เส้นทางนครปฐม-หัวหิน รวมถึงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานเดือนเมือง ท่าอากาศยานแนวชายฝั่งอันดามัน

Cr: bangkokbiznews